วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ประพจน์ที่สมมูลกันและประพจน์ที่เป็นนิเสธ


ประพจน์ที่สมมูลกัน
           ประพจน์ 2 ประพจน์จะสมมูลกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงเหมือนกัน ทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย
  ตัวอย่างประพจน์ที่สมมูลกันที่ควรทราบ มีดังนี้
 
p ∧ q
สมมูลกับ
q ∧ p
 
p ∨ q
สมมูลกับ
q ∨ p
 
(p ∧ q) ∧ r
สมมูลกับ
p ∧ (q ∧ r)
 
(p ∨ q) ∨ r
สมมูลกับ
p ∨ (q ∨ r)
 
p ∧ (q ∨ r)
สมมูลกับ
(p ∧ q) ∨ ( p ∧ r)
 
p ∨ (q ∧ r)
สมมูลกับ
(p ∨ q) ∧ ( p ∨ r)
 
p → q
สมมูลกับ
~p ∨ q
 
p → q
สมมูลกับ
~q → ~p
 
p ⇔ q
สมมูลกับ
(p → q) ∧ (q → p)
       
  ประพจน์ที่เป็นนิเสธกัน
           ประพจน์ 2 ประพจน์เป็นนิเสธกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงตรงข้ามกันทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย
  ตัวอย่างประพจน์ที่เป็นนิเสธกันที่ควรทราบ มีดังนี้
 
~(p ∧ q)
สมมูลกับ
~p ∨ ~q
 
~(p ∨ q)
สมมูลกับ
~p ∧ ~q
 
~(p → q)
สมมูลกับ
p ∧ ~q
 
~(p ⇔ q)
สมมูลกับ
(p ⇔ ~q) ∨(q ⇔ ~p)
 
~(p ⇔ q)
สมมูลกับ
(p ∧ ~q) ∨ ( q ∧~p)
       
  พิสูจน์    
  จะเห็นว่า p ∧ q สมมูลกับ q ∧ p
           ~(p ∧ q) สมมูลกับ ~p ∨ ~q เป็นนิเสธของ p ∧ q

การเขียนแผนภาพแทนเซต

การเขียนแผนภาพแทนเซต
      ในการเขียนแผนภาพแทนเซต เราเขียนรูปปิดสี่เหลี่ยมมุมฉากแทนเอกภพสัมพัทธ์ และรูปปิดวงกลม หรือวงรีแทนสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ ดังนี้
      เราเรียกแผนภาพดังกล่าวข้างต้นนี้ว่า "แผนภาพเวนน์ - ออยเลอร์" (Venn-Euler Diagram)
           
ยูเนียน (Union)
บทนิยาม
      เซต A ยูเนียนกับเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ เซต B หรือทั้ง A และ B สามารถเขียนแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ A ∪ B
ตัวอย่างเช่น A ={1,2,3}
  B= {3,4,5}
 
A ∪ B = {1,2,3,4,5}
           
อินเตอร์เซกชัน (Intersection)
บทนิยาม
      เซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B
ตัวอย่างเช่น A ={1,2,3}
  B= {3,4,5}
 
A ∩ B = {3}
           
คอมพลีเมนต์ (Complements)
บทนิยาม
      ถ้า เซต A ใดๆ ในเอกภพสัมพัทธ์ U แล้วคอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของ U แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A'
ตัวอย่างเช่น U = {1,2,3,4,5}
  A ={1,2,3}
 
A' = {4,5}
           
ผลต่าง (Difference)
บทนิยาม
      ถ้า เซต A และ B เป็นเซตใดๆในเอกภพสัมพัทธ์ u เดียวกันแล้ว ผลต่างของเซต A และ B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A แต่ไม่เป็นสมาชิกของเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A - B
ตัวอย่างเช่น A ={1,2,3}
  B= {3,4,5}
 
A - B = {1,2}
           

หน้าแรก | เซต | ตรรกศาสตร์ | ความสัมพันธ์ | ฟังก์ชัน | ระบบจำนวนจริง | เรขาคณิตวิเครา

สับเซตและพาวเวอร์เซต

สับเซต
บทนิยาม เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B และสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ⊂B
ตัวอย่างที่ 1 A = {1, 2, 3}
  B = { 1, 2, 3, 4, 5}
  A ⊂ B
ตัวอย่างที่ 2 C = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก } = {1,2,3,...}
  D = { x | x เป็นจำนวนคี่ } = {...,-3,-1,1,3,...}
  C D
ตัวอย่างที่ 3 E = { 0,1,2 }
  F = { 2,1,0 }
  E ⊂ F และ F ⊂ E
จากตัวอย่างที่ 3 จะเห็นว่า E ⊂ F และ F ⊂ E แล้ว E = F
สับเซตแท้ เซต A จะเป็นสับเซตแท้ของเซต B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ A ≠ B
จำนวนสับเซต ถ้า A เป็นเซตที่มีสมาชิก n สมาชิกแล้ว จำนวนสับเซตของเซต A จะมี 2n เซต และในจำนวนนี้เป็นสับเซตแท้ 2n - 1 เซต

เพาเวอร์เซต
บทนิยาม เพาเวอร์เซตของเซต A คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสับเซตทั้งหมดของเซต A และสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ P(A)
ตัวอย่างที่ 1 A = Ø
  สับเซตทั้งหมดของ A คือ Ø
  P(A) = {Ø }
ตัวอย่างที่ 2 B = {1}
  สับเซตทั้งหมดของ B คือ Ø, {1}
  P(B) = {Ø, {1} }
ตัวอย่างที่ 3 C = {1,2}
  สับเซตทั้งหมดของ C คือ Ø, {1} , {2}, {1,2}
  P(C) ={Ø, {1} , {2}, {1,2} }

เซต (Set)

เซต (Sets) หมายถึง กลุ่มสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ
หรือนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถระบุสมาชิกในกลุ่มได้ และเรียก
สมาชิกในกลุ่มว่า "สมาชิกของเซต"

การเขียนเซต
การเขียนเซตนิยมใช้อักษรตัวใหญ่เขียนแทนชื่อเซต และสามารถเขียนได้ 2แบบ
1. แบบแจกแจงสมาชิกของเซต
ตัวอย่างเช่น A = {1, 2, 3, 4, 5}
B = { a, e, i, o, u}
C = {...,-2,-1,0,1,2,...}
2. แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิกในเซต
ตัวอย่างเช่น A = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5}
B = { x | x เป็นสระในภาษาอังกฤษ}
C = {x | x เป็นจำนวนเต็ม}
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซตของจำนวนต่างๆมีดังนี้
I- แทนเซตของจำนวนเต็มลบ Q- แทนเซตของจำนวนตรรกยะที่เป็นลบ
I+ แทนเซตของจำนวนเต็มบวก Q+ แทนเซตของจำนวนตรรกยะที่เป็นบวก
I แทนเซตของจำนวนเต็ม Q แทนเซตของจำนวนตรรกยะ
N แทนเซตของจำนวนนับ R แทนเซตของจำนวนจริง
เซตจำกัด
บทนิยาม เซตจำกัด คือ เซตที่สามารถระบุจำนวนสมาชิกในเซตได้
ตัวอย่างเช่น A = {1, 2, 3, 4, 5} มีสมาชิก 5 สมาชิก
B = { a, e, i, o, u} มีสมาชิก 5 สมาชิก
เซตอนันต์
เซตอนันต์ คือ เซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด หรือเซตที่มีจำนวนสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วน
ตัวอย่างเช่่น C = {...,-2,-1,0,1,2,...}
เซตที่เท่ากัน
เซต A และเซต B จะเป็น เซตที่เท่ากัน ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B และสมาชิกทุกตัวของเซต B เป็นสมาชิกทุกตัวของเซต A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A= B
ตัวอย่างเช่่น A = {1, 2, 3, 4, 5}
B = { x | x เป็นจำนวนนับที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5}
A = B
เซตว่าง
เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก หรือมีจำนวนสมาชิกในเซตเป็นศูนย์ สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ {} หรือ Ø
ตัวอย่างเช่่น A = {x | x เป็นจำนวนเต็ม และ 1 < x < 2} ∴ A = Ø
B = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x + 1 = 0 } ∴ ฺB = Ø
เนื่องจากเราสามารถบอกจำนวนสมาชิกของเซตว่างได้ ดังนั้น เซตว่างเป็นเซตจำกัด
เอกภพสัมพัทธ์
เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดของสิ่งที่เราต้องการจะศึกษา สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ u
ตัวอย่างเช่่น ถ้าเราจะศึกษาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม
U = {...,-2,-1,0,1,2,...}
หรือ U = {x | x เป็นจำนวนเต็ม.}

ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น

การหารลงตัว
บทนิยาม
กำหนด a, b เป็นจำนวนเต็มใดๆ โดยที่ b ≠ 0
b หาร a ลงตัว ก็ต่อเมื่อ มีจำนวนเต็ม n ที่ทำให้ a = bn
และเขียนแทน “b หาร a ลงตัว” ได้ด้วยสัญลักษณ์ b | a
       จากบทนิยาม ถ้า b หาร a ไม่ลงตัว แสดงว่าไม่มีจำนวนเต็ม n ที่ทำให้ a = bn และ เขียนแทน “b หาร a ไม่ลงตัว ได้ด้วยสัญลักษณ์ b † a
ตัวอย่างเช่น 3 | 9 เพราะมี n = 3 ที่ทำให้  9 = 3n
-5 | 10 เพราะมี n = -2 ที่ทำให้ 10 = +5n
6 | 0 เพราะมี n = 0 ที่ทำให้ 0 = 6n

สมบัติการหารลงตัว
ทฤษฎีบทที่ 1 กำหนด a, b, c เป็นจำนวนเต็มใดๆ
ถ้า a | b และ b | c แล้วจะได้ a | c

ทฤษฎีบทที่ 2 กำหนด a, b เป็นจำนวนเต็มบวก
ถ้า a | b แล้วจะได้ a ≤ b

ทฤษฎีบทที่ 3 กำหนด a, b, c เป็นจำนวนเต็มใดๆ
ถ้า a | b และ b | c แล้วจะได้ a | bx + cy
เมื่อ x, y เป็นจำนวนเต็มใดๆ

การจำแนกจำนวนเต็มบวกโดยใช้สมบัติการหารลงตัว
1.จำนวนเฉพาะ (Prime Numbers)

บทนิยาม จำนวน เต็ม  p จะเป็นจำนวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ p ≠ 0, p ≠ 1, p ≠ -1 และถ้ามีจำนวนเต็มที่หาร p ลงตัว จำนวนเต็มนั้นต้องเป็นสมาชิกของ {-1, 1, p, -p}
2.จำนวนประกอบ (Composite Numbers)
บทนิยาม จำนวนเต็ม c เป็นจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 1 จะเป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ c ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ
       นั่นคือสำหรับจำนวนเต็มบวก c ใดๆ c จะเป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ มีจำนวนเต็ม m และ n ที่ต่างจาก c ที่ทำให้ c = mn
ตัวอย่างเช่น
       จำนวนที่หาร 2 ลงตัว ได้แก่ {-1, 1, 2, -2} 2 เป็นจำนวนเฉพาะ
       จำนวนที่หาร 3 ลงตัว ได้แก่ {-1, 1, 3, -3} 3 เป็นจำนวนเฉพาะ
       จำนวนที่หาร 4 ลงตัว ได้แก่ {-4, -2, -1, 1, 2, 4} 4 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
ขั้นตอนวิธีการหาร
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็ม โดยที่ b ≠ 0 แล้วจะมี q และ r ซึ่งเป็นจำนวนเต็มที่ทำให้
                     a = bq + r เมื่อ 0 r |b|
นั่นคือ a เป็นตัวตั้งหารด้วย b ได้ผลหารคือ q และเศษ r
ตัวอย่างที่ 1 กำหนด a = 48, b = 7 จงหา q และ r
เขียนให้อยู่ในรูป a = bq + r
48 = 7 × 6 +6
   
q = 6 และ r = 6
 
ตัวหารร่วม
ตัวหารร่วม
     กำหนด a และ b เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นศูนย์ เรียกจำนวนเต็ม c
     ซึ่ง c | a และ c | b ว่าเป็น “ตัวหารร่วม” ของ a และ b
ตัวหารร่วมมาก
     กำหนด a และ b เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน เรียกจำนวนเต็มบวก d ที่มีค่ามากที่สุด ซึ่ง d | a และ d | b ว่าเป็น “ตัวหารร่วมมาก” (ห.ร.ม.) ของ a และ b เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ (a, b)
ตัวอย่างเช่น จงหา ห.ร.ม. ของ 36 และ 48
วิธีทำ ตัวหารร่วมของ 36 ได้แก่ ±1, ±2, ±3, ±4, ±6, ±9, ±12, ±18, ±36
ตัวหารร่วมของ 48 ได้แก่ ±1, ±2, ±3, ±4, ±6, ±8, ±12, ±16, ±24, ±48
 
ตัวหารร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 48 ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 6, 12
 
ตัวหารร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 48 ที่มีค่ามากที่สุด คือ12
นั่นคือ ห.ร.ม. ของ 36 และ 48 คือ 12
การหาตัวหารร่วมมากโดยใช้ขั้นตอนวิธีของยุคลิด
ตัวอย่างเช่น จงหา ห.ร.ม. ของ 36 และ 48
วิธีทำ
     ในที่นี้ rk = 12
     
ดังนั้น ห.ร.ม. ของ 36 และ 48 คือ 12
จำนวนเฉพาะสัมพัทธ์
บทนิยาม
  จำนวนเต็ม a และ b จะเป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กันก็ต่อเมื่อ (a, b) = 1
ตัวคูณร่วมน้อย
ตัวคูณร่วมน้อย
 
  กำหนด a และ b เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นศูนย์ เรียกจำนวนเต็มบวก c ที่มีค่าน้อยที่สุด ซึ่ง a | c และ b | c ว่าเป็น "ตัวคูณร่วมน้อย" (ค.ร.น.) ของ a และ b เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ [a, b]
  ตัวอย่างเช่น จงหา ค.ร.น. ของ 36 และ 24
  วิธีทำ พหุคูณที่เป็นบวกของ 36 ได้แก่ 36, 72, 108, 144, ...
 
 
พหุคูณที่เป็นบวกของ 24 ได้แก่ 24, 48, 72, 96, 120, 144, ...
 
 
พหุคูณร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 24 ได้แก่ 72, 144, ...
    พหุคูณร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 24 ที่มีค่าน้อยที่สุด คือ 72
    นั่นคือ ค.ร.น. ของ 36 และ 24 คือ 72

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

สมการเส้นตรง

1. สมการของกราฟเส้นตรงที่ขนานกับแกน x
     กำหนดให้ L เป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกน x ดังนั้น เส้นตรง L ย่อมตั้งฉากกับแกน y และกำหนดให้เส้นตรง L ตัดแกน y ที่จุด (0, b)
     ถ้า b > 0 เส้นตรง L จะอยู่เหนือแกน x และห่างจากแกน x เป็นระยะ |b| หน่วย
     ถ้า b = 0 เส้นตรง L จะทับแกน x
     ถ้า b < 0 เส้นตรง L จะอยู่ใต้แกน x และห่างจากแกน x เป็นระยะ |b| หน่วย
สมการของกราฟเส้นตรงที่ขนานกับแกน x คือ y = b
ตัวอย่างเช่น
     (1) เส้นตรงที่ขนานกับแกน x และอยู่เหนือแกน x เป็นระยะ 5 หน่วย มีสมการเป็น y = 5
     (2) เส้นตรงที่ขนานกับแกน x และทับแกน x มีสมการเป็น y = 0
     (3) เส้นตรงที่ขนานกับแกน x และอยู่ใต้แกน x เป็นระยะ 5 หน่วย มีสมการเป็น y = -5
 
 
2. สมการของกราฟเส้นตรงที่ขนานกับแกน y
     กำหนดให้ L เป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกน y ดังนั้น เส้นตรง L ย่อมตั้งฉากกับแกน x และกำหนดให้เส้นตรง Lตัดกับแกน x ที่จุด (a, 0)
     ถ้า a > 0 เส้นตรง L จะอยู่ทางขวาของแกน y และห่างจากแกน y เป็นระยะ |a| หน่วย
     ถ้า a = 0 เส้นตรง L จะทับแกน y
     ถ้า a < 0 เส้นตรง L จะอยู่ทางซ้ายของแกน y และห่างจากแกน y เป็นระยะ |a| หน่วย
สมการของกราฟเส้นตรงที่ขนานกับแกน y คือ x = a
ตัวอย่างเช่น
     (1) เส้นตรงที่ขนานกับแกน y และอยู่ทางขวาของแกน y เป็นระยะ 5 หน่วย มีสมการเป็น x = 5
     (2) เส้นตรงที่ขนานกับแกน y และทับแกน y มีสมการเป็น x = 0
     (3) เส้นตรงที่ขนานกับแกน y และอยู่ทางซ้ายของแกน y เป็นระยะ 5 หน่วย มีสมการเป็น x = -5
 
 
3. สมการของกราฟเส้นตรงที่ไม่ขนานกับแกน x และไม่ขนานกับแกน y
     กำหนดให้ L เป็นเส้นตรงที่ไม่ขนานกับแกน x และไม่ขนานกับแกน y มีความชัน = m และผ่านจุด (x1, y1)
จากรูปให้ (x, y) เป็นจุดใดๆบนเส้นตรง L
∴ ความชันของเส้นตรง L ที่ลากผ่านจุด (x1, y1) และ (x, y) เท่ากับ
= m
  y - y1 = m(x - x 1)
ดังนั้นสมการของกราฟเส้นตรงที่มีความชัน m และผ่านจุด (x1, y1) คือ y - y1 = m(x - x 1)
ตัวอย่างเช่น
     (1) สมการของกราฟเส้นตรงที่มีความชันเท่ากับ และผ่านจุด (1, 2) คือ
      y - 2 = (x-1)
หรือ 2x - 3y +4 = 0
 
 

สมการ

1. สมการ     สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมายเท่ากับ (=)
          ตัวอย่าง   ก. 3 + 4 = 7           ข. 9 – 3 = 6
     อสมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย < , > , ≠
          ตัวอย่าง   ก. 3 + 4  <  8         ข. 9 – 3 > 4          ค. 9 – 5 ≠  6
2. สมการที่เป็นจริง
     สมการที่เป็นจริง เป็นสมการซึ่งมีจำนวนที่อยู่ซ้ายมือของเครื่องหาย = มีค่าเท่ากันกับจำนวนที่อยู่ขวามือ
     ตัวอย่าง   ก. 134 + 40 = 174          ข. 139 -  30 = 109
                  ค. 40 x 40 = 1,600          ง. 12 ÷ 6 = 2
3. สมการที่เป็นเท็จ
     สมการที่เป็นเท็จ เป็นสมการซึ่งมีจำนวนที่อยู่ซ้ายมือของเครื่องหมาย = มีค่าไม่เท่ากันกับจำนวนที่อยู่ขวามือ
     ตัวอย่าง  ก.  104 + 10 = 116          ข. 130 – 30 = 101
                 ค. 40 x 40 = 1,601           ง. 12 ÷ 6 = 5
4. สมการที่มีตัวไม่ทราบค่าหนึ่งตัว
     สมการที่มีตัวไม่ทราบค่า เป็นสมการที่มีสัญลักษณ์อื่น ๆ นอกจากตัวเลขอยู่ในสมการนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่าสัญลักษณ์นั้นว่าตัวไม่ทราบค่าซึ่งตัวไม่ทราบค่าจะใช้เป็น สัญลักษณ์แบบใดก็ได้ เช่น ก. ค. A, °
     ตัวอย่าง  ก. 34 + A = 170  ตัวไม่ทราบค่า คือ A  
                 ข. ต – 30  = 109  ตัวไม่ทราบค่า คือ ต
5. การแก้สมการที่มีตัวไม่ทราบค่าหนึ่งตัว
     คำตอบของสมการ คือ จำนวนที่แทนตัวไม่ทราบค่าในสมการแล้วทำให้เป็นจริง เราเรียกจำนวนนั้นว่า คำตอบของสมการ
     ตัวอย่าง  ก. 14 + A = 20 คำตอบของสมการ คือ 6
                 ข. ต – 30 = 50 คำตอบของสมการ คือ 80
                 ค. 20 x A = 100 คำตอบของสมการ คือ 5
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน